วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีพื้นบ้าน

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

 

จังหวัด : เพชรบูรณ์
ช่วงเวลา : เทศกาลสารทไทยตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

ตำนาน อุ้มพระดำน้ำ
ในวันสารทไทย ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 19 กันยายน 2552 ชาวเมืองเพชรบูรณ์จะจัดพิธีแห่พระพุทธมหาธรรมราชาพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยลพบุรีไปทั่วเมือง โดยมีตำนานที่เล่าต่อกันมาว่า เมื่อ 400 ปีที่แล้ว มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นกับชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ทำอาชีพจับปลาในแม่น้ำป่าสัก คือ มีอยู่วันหนึ่ง เวลาผ่านไปครึ่งค่อนวันแล้ว แต่ชาวประมงที่นั่นไม่สามารถจับปลาได้เลย แล้วก็มีปาฎิหารย์เกิดขึ้น เมื่อกระแสน้ำที่กำลังไหลเชี่ยวกรากบริเวณวังมะขามแฟบ (ไม้ระกำ) เริ่มหยุดนิ่ง หลังจากนั้นก็ค่อยๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมาคล้ายน้ำที่กำลังเดือด จนกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ค่อยๆ ดูดองค์พระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ชาวบ้านกลุ่มนั้นจึงลงไปอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ เพื่อให้ชาวบ้านได้กราบไหว้บูชา-สักการะ

วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ในปีถัดมา ซึ่งตรงกับวันสารทไทย พระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไป และผู้พบในแม่น้ำตรงสถานที่ที่ชาวประมงพบพระพุทธรูปในครั้งแรกอีกถึง 2 ครั้ง ต่อมาเมื่อถึงวันสารทไทยชาวบ้านเกรงพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปอีก จึงร่วมกันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาองค์นี้ไปสรงน้ำที่แม่น้ำป่าสัก และสืบสานประเพณีนี้เรื่อยมาจนกลายเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ เชื่อกันว่ามีปฏิบัติเพียงแห่งเดียวในโลก ถือกันว่าเป็นประเพณีที่สำคัญต่อความเชื่อของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์

 พระพุทธมหาธรรมราชา
พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เคียงคู่กับหลวงพ่อเพชรมีชัย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง จ.เพชรบูรณ์ พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่อง สร้างด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน มีพุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริดหรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลายสวยงาม


พิธีกรรม/กิจกรรม :
         
๑. จัดให้มีการตั้งศาลเพียงตาแล้วอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชามาประทับ ทำพิธีสวดคาถาโดยพราหมณ์ผู้ทำพิธีนุ่งขาวห่มขาวแล้วอัญเชิญขึ้นบนบุษบก ให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาและมีงานฉลองสมโภช
         
๒. จัดให้มีพิธีอุ้มพระดำน้ำในตอนเช้าหลังทำบุญสารทโดยมีขบวนเรือแห่นำไปโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อถึงบริเวณวัดโบสถ์ชนะมาร เจ้าเมืองพร้อมข้าราชบริพารจะอุ้มพระลงดำน้ำ โดยหันหน้าองค์พระไปทิศเหนือ ๓ ครั้ง ทิศใต้ ๓ ครั้ง ชาวบ้านจะโปรย
ข้าวตอก ดอกไม้และข้าวต้มกลีบ เมื่อดำน้ำเสร็จชาวบ้านจะตักน้ำรดศีรษะและรดกันเองเพื่อเป็นสิริมงคล
สาระ : ความเชื่อและศรัทธาอย่างแรงกล้าว่า ประเพณีนี้  จะทำให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ พืชผลทางการ   เกษตรเจริญงอกงาม เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มาก รวมทั้งปลอดจากโรคระบาดอีกด้วย จนกลายเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเพชรบูรณ์ มีมุมมองและความเชื่อที่เปี่ยมล้นเต็มหัวใจ


 

 

 

อ้างอิง


http://www.youtube.com/watch?v=kT2sRCFzFI
http://www.youtube.com/watch?v=F_L8o7y0O


http://personal.swu.ac.th/students/sc511010667/CP/north_4.html
http://th.wikipedia.org/wiki
http://travel.mthai.com/news/3212.html
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13691
http://student.nu.ac.th/umpradamnam/tumnan.html
http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-53(500)/page3-10-53(500).html
http://www.tonkeian.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=73557
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000120933